การคัดเลือกพื้นที่ในการสานเสวนา

การสานเสวนาของโครงการนี้ แบ่งออกเป็นจำนวน 3 รอบ โดยการสานเสวนารอบที่ 1 มีการกำหนดพื้นที่เพื่อทำการสานเสวนา จำนวน 4 พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสงขลา โดยพื้นที่ทั้ง 4 พื้นที่ดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้

1)  ความสอดคล้องกับนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และแผนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด

เกณฑ์ดังกล่าว พิจารณาความสอดคล้องกับนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และแผนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานของจังหวัดภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด รวมทั้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยศึกษาและทบทวนนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และแผนงานต่าง ๆ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนพัฒนาภาคใต้ แผนภาคใต้ชายแดน แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย และแผนพัฒนาจังหวัด 15 จังหวัด และนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และแผนงานด้านพลังงาน ได้แก่ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก และแผนอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานทุกประเภททั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด                        

2) การเป็นตัวแทนของกลุ่มจังหวัดภาคใต้

เกณฑ์ดังกล่าว พิจารณาจากการเป็นตัวแทนของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ โดยแบ่งออกเป็น 

2.1)   กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน จำนวน 3 จังหวัด ประกอบด้วย ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง 

2.2)   กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 4 ประกอบด้วย สงขลา นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

2.3)   กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 5 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่ พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง 

2.4)   กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จำนวน 3 จังหวัด ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง และ        สุราษฎร์ธานี

การพิจารณาและคัดเลือกพื้นที่เพื่อดำเนินการจัดการสารเสวนา รอบที่ 1 

การพิจารณาและคัดเลือกพื้นที่การจัดการสานเสวนา รอบที่ 1 

พื้นที่ในการสานเสวนารอบที่ 1 ได้แก่ จังหวัดกระบี่ สงขลา สุราษฎร์ธานี และชุมพร โดยจังหวัดกระบี่ สงขลา และสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่เป็นเป้าหมายในการผลิตพลังงานไฟฟ้าตามแผน PDP2015 และแผน PDP2018 ส่วนจังหวัดชุมพรนั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ในแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ซึ่งจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงพิจารณาให้จังหวัดชุมพรเป็นหนึ่งในจังหวัดเป้าหมายในการสานเสวนารอบที่ 1  

สำหรับพื้นที่ในการสานเสวนารอบที่ 2 และ 3 จะมีการกำหนดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการสานเสวนารอบที่ 1 เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความครอบคลุมของประเด็นในด้านต่าง ๆ โดยที่การสานเสวนารอบที่ 2 และ 3 อาจจัดขึ้นในพื้นที่เดิม หรือมีการเพิ่มเติม ตามความเหมาะสมและทรัพยากรที่มี

16,693 thoughts on “การคัดเลือกพื้นที่ในการสานเสวนา